อุทิศฟาร์ม
Autit fram

สถิติ
เปิดเมื่อ3/08/2011
อัพเดท20/09/2012
ผู้เข้าชม156437
แสดงหน้า181081
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทความ

โรคไข้ขา

โดยมากชาวบ้านมักเรียกโรคไข้ขา เพราะลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ กล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้เดินเคลื่อนไหวไม่สะดวก และมักทำให้เกิด
โลหิตเป็นพิษรุนแรงตามมา ทำให้อัตราการตายสูงมาก



            โรค นี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้มักเกิดกับ โค, ควาย, แพะ, แกะ และสุกร โดยเชื้อนี้จะเข้าตามบาดแผลต่างๆ เช่น แผลถลอก ถูกของมีคมบาดหรือทิ่มตำ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปอยู่ตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย

            สำหรับ ตัวอ่อนของเชื้อนี้มีความทนทานมาก อยู่ได้ตามพื้นดินได้นานเป็นปี



            บางตัวที่ ได้รับเชื้อรุนแรง อาจตายโดยไม่แสดงอาการ ส่วนอาการทั่วไปที่พบ คือ สัตว์จะซึม ไม่กินอาหาร ไม่เคี้ยวเอื้อง หายใจเร็ว
และอาจเจ็บที่ขาอาจจะเป็นข้างเดียวหรือหลายข้าง ขาข้างที่แสดงอาการจะปวด บวม โดยเฉพาะด้านส่วนต้นๆ ของขา บริเวณขาที่บวม
จะ บวมมากขึ้น และปวดมาก ผิวหนังบริเวณนั้นจะมีสีม่วงเข้มเนื่องจากมีการคั่งของเลือด ต่อมาถ้าคลำดูบริเวณนั้นจะไม่ค่อยมีความรู้สึก แต่จะมี
ลักษณะเหมือนมีแก๊สแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ โดยปกติแล้ว อุณหภูมิของร่างกายจะอยู่ระหว่าง 105-109 องศาฟาเรนไฮต์ และสัตว์มักตาย
หลังแสดงอาการแล้ว 24-48 ชั่วโมง


            บริเวณ ที่เกิดความผิดปกตินี้มักเกิดที่ขาหลังมากกว่าที่อื่น แต่ส่วนอื่นๆ ก็อาจเกิดได้ เช่น  ขาหน้า, ลิ้น, เหนียง, หน้าอก และเต้านม เป็นต้น
 



            เมื่อ พบว่าสัตว์มีอาการของโรคนี้ ให้รีบตามนายสัตวแพทย์มาตรวจวินิจฉัย และดำเนินการรักษาโดยเร็ว ถ้าช้าสัตว์มักตาย โดยทั่วไปแล้วยาที่ใช้ได้ผลในการรักษา คือ พวกเพนนิซิลลิน
 


            โดยการเน้นเรื่องสุขาภิบาลที่ดี พยายามอย่าให้สัตว์เกิดบาดแผลขึ้นได้ ในกรณีที่มีบาดแผลเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาดบาดแผล
ด้วยยาฆ่าเชื้อโรคให้สะอาด และหมั่นรักษาบาดแผลให้สะอาดจนแผลหาย

            
สำหรับการฉีดวัคซีนก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยควบคุมป้องกันโรคได้ โดยฉีดในสัตว์ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และฉีดซ้ำทุก
6 เดือน



เราจะเดินหน้าพัฒนาต่อไป

อุทิศฟาร์ม
Autitfram