อุทิศฟาร์ม
Autit fram

สถิติ
เปิดเมื่อ3/08/2011
อัพเดท20/09/2012
ผู้เข้าชม156392
แสดงหน้า181034
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

โรคกาลี

โรคกาลีนี้บางแห่งก็เรียกว่า “โรคแอนแทรกซ์” จัดเป็นโรคที่ร้ายแรง เพราะนอกจากจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงแล้ว
โรคนี้ก็ยังติดต่อมาถึงคนได เชื้อโรคกาลีนี้สามารถสร้างเกราะหุ้มตัวมันเอง ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในเกราะนี้คงทนอยู่ได้ในพื้นดินเป็นเวลานาน
นับสิบๆ ปี

            ด้วย เหตุนี้เมื่อเกิดโรคนี้ระบาดขึ้นในท้องที่ใดก็ตาม หลังจากนั้นนานนับสิบปีโรคนี้ก็อาจกลับมาเกิดขึ้นอีกได้ในท้องที่นั้น
ถ้าเชื้อโรคกาลีที่เกิดในตอนแรกเข้าเกราะหุ้มตัวตัวอยู่ในดิน และสัตว์เลี้ยงเผอิญไปกินเอาเชื้อโรคในดินนั้นเข้าไป

            โรคกาลีเกิดได้กับสัตว์เลี้ยง พวก โค, กระบือ, ม้า, แพะ  ส่วนสุนัข, แมว, สุกร และคนก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน



            โรคนี้เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เชื้อแบคทีเรียนี้อาจจะเข้าสู่ร่างกายสัตว์ทางบาดแผล หรือโดยการกินเข้าไปก็ได

            อาการของสัตว์ที่เป็นโรคนี้ จะปรากฏออกมาหลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วตั้งแต่ 1 หรือ 2 วัน จนถึง 1 หรือ 2 สัปดาห์
ในรายที่สัตว์เป็นโรคนี้อย่างเฉียบพลัน จะพบว่าสัตว์ตายอย่างกะทันหันโดยไม่แสดงอาการให้เห็นมาก่อนเลย สัตว์จะล้มลงชัก
กล้ามเนื้อสั่น เคี้ยวฟัน กลอกตา หายใจขัด และตายอย่างรวดเร็ว พร้อม กับมีโลหิตสีดำไหลออกมาจากทวารต่างๆ เช่น ปาก จมูก ทวารหนัก อวัยวะสืบพันธุ์ โลหิตที่ไหลออกมาจะไม่แข็งตัวอันเป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของโรค ซากสัตว์จะขึ้นอืด
อย่างรวดเร็ว


            รายที่เป็นโรคนี้อย่างไม่เฉียบพลัน สัตว์จะแสดงอาการออกมา ให้เห็นอยู่ราว 1 – 2 วัน โดยจะมีไข้สูง ซึมมาก กล้ามเนื้อสั่น
หัวตก หูตก ชีพจร และการหายใจถี่เร็ว ระยะแรกมีอาการท้องผูก ต่อมามีเลือดปนต่อมาสัตว์จะตายเร็วในที่สุด

 


            เมื่อ สงสัยว่าสัตว์ป่วยเป็นโรคนี้ ต้องตามนายสัตวแพทย์ให้มาตรวจวินิจฉัย และดำเนินการรักษาโดยเร็ว แต่ในรายที่เป็นแบบเฉียบพลันการรักษามักไม่ได้ผล สัตว์จะตายเสียก่อน

ส่วนในการป้องกันนั้น ใช้หลักดังนี้

            1.1  สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับสัตว์ โดยการนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนี้ จากนายสัตวแพทย์ปีละครั้ง ก็จะช่วยให้มี

ความต้านทานโรคนี้ขึ้น

           
 1.2     โดยทางสุขาภิบาล

            การ สุขาภิบาลที่ดี เป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันการแพร่ของโรคนี้ เนื่องจากสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้ จะมีเลือดไหลออกมาจากทวารต่างๆ เชื้อโรคที่อยู่ในร่างกายของสัตว์ที่ตายก็จะไหลปะปนมาในเลือดดังกล่าวนี้ ด้วย ดังนั้น ซากสัตว์ที่ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ หรือโรคกาลี จึงควรเผาหรือฝังทันที ไม่ควรชำแหละ เพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่หลายกระจายออกมาได้มากขึ้น พร้อมกับพวกหญ้า ฟางที่รองนอนตลอดจนดินบริเวณที่สัตว์ตาย ต้องเผาให้ไหม้ให้หมด ในการฝังต้องขุดหลุมให้ลึกอย่างน้อย 2 วา รองหลุม และกลบซากสัตว์ด้วยปูนขาว
ไว้ชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงกลบดินให้แน่น ควรใช้ขอนไม้ทับปากหลุมเพื่อป้องกันสุนัข หรือสัตว์อื่นมาขุดคุ้ยดิน
               
            
สัตว์ที่สงสัยว่าป่วยต้องแยกออกจากสัตว์ดี ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเทราดทำความสะอาดตามคอก



            เนื่องจากโรคนี้เกิดขึ้นในคนได้ ทำให้ผิวหนังอักเสบ, ปอดอักเสบ, ลำไส้อักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จึงต้องระมัดระวัง
การติดเชื้อโรคนี้



เราจะเดินหน้าพัฒนาต่อไป

อุทิศฟาร์ม
Autitfram