อุทิศฟาร์ม
Autit fram

สถิติ
เปิดเมื่อ3/08/2011
อัพเดท20/09/2012
ผู้เข้าชม156368
แสดงหน้า181010
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

โรคสำคัญที่พบในโคนมตามช่วงอายุต่างๆ

โรคสำคัญที่พบในโคนมตามช่วงอายุต่างๆ

(ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ www.dld.go.th/niah)
โรคในโคนมที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุของการสูญเสียสามารถจำแนกได้ตามช่วงอายุของโคนมดังต่อไปนี้
1. ช่วงอายุ 1-4 สัปดาห์แรก
1.1 ท้องเสีย ซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อ
1.1.1 เชื้อโรตา-โคโรนา-ไวรัส (Rota-Corona-Virus)
1.1.2 เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) เช่น E. coliSalmonella spp.
1.2 ข้อเจ็บ สะดืออักเสบ (Joint ill หรือ Navel ill) โดยมากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทางสายสะดือที่ทำความสะอาดไม่ดี เช่น เชื้อ E.coli, Streptococcus spp. เป็นต้น
1.3 ไส้เลื่อน (Umbilical Hernia) โดยมากมักจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือสะดืออักเสบ (Navel Abscess)
1.4 โรคพยาธิภายในโดยเฉพาะพยาธิเส้นด้าย ที่ติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่
1.5 ปอดบวม (Pneumonia)
1.6 ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดจากกรรมพันธุ์

2. ช่วงอายุ 5-12 สัปดาห์
2.1 ท้องอืด (Tympany) 
2.2 โรคขาดวิตามิน บีหนึ่ง (Vit B1 deficiency)
2.3 โรคขาดวิตามิน อี และซีลิเนียม (Vit E-Se deficiency)
2.4 โรคบิด (Coccidosis)
2.5 ขี้กลาก (Ring worm)

3. มากกว่า 13 สัปดาห์ขึ้นไป
3.1 โรคพยาธิภายนอก
3.1.1 เห็บ
3.1.2 แมลงดูดเลือด
3.1.3 ขี้เรื้อน
3.2 โรคพยาธิภายใน
3.2.1 พยาธิใบไม้ตับ (Fasciolosis)
3.2.2 พยาธิตัวกลมในกระเพาะลำไส้ (GI-nematode)
3.2.3 พยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomosis)
3.3 โรคพยาธิโปรโตซัวในเลือด
3.3.1 บาบีซิโอซิส (Babesiosis)
3.3.2 อะนาพลาสโมซิส (Anaplasmosis)
3.3.3 ทริพพาโนโซโมซิส (Trypanosomosis)
3.3.4 ไทเลริโอซิส (Theileriosis)
3.4 โรคติดเชื้อต่างๆ (Infectious diseases)
3.4.1 โรคติดเชื้อไวรัส
3.4.1.1 โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease)
3.4.1.2 โรคไอบีอาร์ (IBR)
3.4.1.3 โรคไข้สามวัน (Ephemeral fever)
3.4.2 โรคติดเชื้อแบคทีเรีย
3.4.2.1 เต้านมอักเสบ (Mastitis)
3.4.2.2 มดลูกอักเสบ (Metritis)
3.4.2.3 บรูเซลโลซิส (Brucellosis)
3.4.2.4 พาราทูเบอร์คูโลซิส (Paratuberculosis) มีการติดเชื้อตั้งแต่อายุน้อยๆ แต่จะแสดงอาการเมื่อสัตว์อายุมากประมาณ 3 ปีขึ้นไป
3.5 โรคทางเมตาโบลิก (Metabolic disease)
3.5.1 โรคไขน้ำนม (Milk fever) มักพบในโคนมที่ให้ลูกตัวที่ 3 เป็นต้นไป
3.5.2 คีโตซิส (Ketosis) มักพบในโคนมที่ให้น้ำนมสูงในระยะ 3 วัน-3 สัปดาห์หลังคลอด
3.5.3 แอซิโดซิส (Acidosis) มักพบในช่วงฤดูแล้งที่ผู้เลี้ยงโคนมให้อาหารข้นแก่โคนมมากเกินไป
3.5.4 กระเพาะแท้อยู่ผิดตำแหน่ง (Abomasal displacement) มักเกิดในโคพันธุ์ขาว-ดำซึ่งให้ผลผลิตสูง มักพบในระยะหลังคลอดใหม่ๆ และสัตว์ได้รับอาหารข้นมากอาหารหยาบน้อย
3.5.5 Fatty liver มักพบในโคนมที่ขุนจนอ้วนในระยะก่อนคลอด และจะแสดงอาการในระยะหลังคลอดใหม่ๆ
3.5.6 รกค้างจากการขาด วิตามิน อี และ ธาตุ ซีลิเนี่ยม
3.6 โรคอื่นๆ (Other diseases)
3.6.1 กลุ่มอาการล้มแล้วลุกยาก (Downer cow syndrome)
3.6.2 คลอดยาก (Dystocia)
3.6.3 โรคกีบและขาอักเสบ (Laminitis)
3.7 โรคทางระบบสืบพันธุ์ (Reproductive problem)
3.7.1 ถุงน้ำที่รักไข่ (Cystic ovary)
3.7.2 ไม่เป็นสัด (Anestrus)
3.7.3 ผสมติดยาก (ผสม > 3 ครั้งขึ้นไป
3.7.4 การผสมไม่ติด (Infertility) (ท้องว่าง > 1 ปีขึ้นไป)
3.7.5 การแท้ง (Abortion) จากสาเหตุต่างๆ 

โดยมากโคนมที่ป่วยมักจะเกิดความไม่สมดุลย์ระหว่างอาหารที่ได้รับและผลผลิต ที่ให้จึงควรให้ความสำคัญในการตรวจสอบประวัติสัตว์ป่วยในจุดนี้ด้วย
 

---------------------------------
ที่มา
ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม' สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง.
ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย



เราจะเดินหน้าพัฒนาต่อไป

อุทิศฟาร์ม
Autitfram