อุทิศฟาร์ม
Autit fram

สถิติ
เปิดเมื่อ3/08/2011
อัพเดท20/09/2012
ผู้เข้าชม156382
แสดงหน้า181024
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

โรคแท้งติดต่อ

โรคแท้ง ติดต่อเป็นโรคระบาดที่สำคัญโรคหนึ่งของโค, กระบือ, สุกร, แพะ, แกะ และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ รวมทั้งคนก็อาจติดโรคนี้ได้ โรคนี้มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม เพราะโรคนี้จะทำให้ปริมาณของน้ำนมที่ควรได้ลดลง
เนื่องจากแม่โคแท้ง ซึ่งทำให้ต้องสูญเสียชีวิตลูกโคไปด้วย

             นอกจากนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาการผสมไม่ติด ทำให้การจัดการแผนการผสมพันธุ์เสียไป นอกจากนี้ในแม่โคบางตัวหลังจากแท้งลูก
แล้ว จะเกิดโรคมดลูกอักเสบตามมา ทำให้เสียสุขภาพ และอาจตายได้



            โรคแท้งติดต่อ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งพบเชื้อแบคทีเรียนี้ได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับโค
เท่านั้น การติดต่อของเชื้อแบคทีเรียนี้เกิดได้หลายทาง คือ


 
1.
โดยการกินอาหาร และน้ำที่มีเชื้อนี้ปะปนอยู่
 
2.
โดยการเลียสิ่งที่ขับออกทางช่องคลอดของโคตัวเมียที่เป็นโรค
 
3.
โรคติดต่อกันได้โดยเชื้อเข้าทางบาดแผลที่ผิวหนัง
 
4.

เชื้ออาจเข้าทางนัยน์ตาได้ในขณะที่แม่โคเป็นโรค กวัดแกว่งหางแล้วถูกนัยน์ตา

 
5.
โรคติดต่อกันได้โดยการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
 
6.
โรคติดต่อกันโดยใช้น้ำเชื้อจากพ่อโคที่เป็นโรคแล้วนำไปผสม
 
7.
ลูกโคติดโรคโดยการกินน้ำนมจากแม่โคที่เป็นโรค นอกจากนี้โรคอาจติดต่อจากแม่โคตัวหนึ่งไปยังแม่โคอีกตัวหนึ่งได้ ในระหว่างรีดนม

            เมื่อสัตว์รับเชื้อ เข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 6  เดือน ก็จะแสดงอาการเป็นโรคออกมา คือ

            แม่โคมักจะแท้งลูกหลังจากตั้งท้องได้ 5 เดือน แต่ถ้าไม่แท้งจะได้ลูกที่อ่อนแอ การแท้งไม่จำเป็นต้องเกิดทุกๆ ท้อง หลังจากแท้งมักจะเกิดรกค้าง และมดลูกอักเสบตามมาเสมอ มดลูกอักเสบถ้าเป็นชนิดเฉียบพลันอาจเกิดโลหิตเป็นพิษ และทำให้แม่โคตายได้

             ถ้ามดลูกอักเสบเป็นแบบเรื้อรังจะทำให้ผสมไม่ติด ซึ่งการผสมไม่ติดนี้ อาจจะเป็นชั่วคราว หรือถาวรตลอดก็ได้ นอกจากนี้ก็มีอาการสุขภาพทรุดโทรม น้ำหนักลด บวมที่ข้อ และแม่โคจะมีอาการเต้านมอักเสบด้วย

             อาการพ่อโค จะมีอาการอัณฑะอักเสบ บวมโตกว่าประมาณ 3 เท่า และจะเจ็บปวดมาก ต่อมาลูกอัณฑะจะเกิดเนื้อตาย และใช้งานไม่ได้ ถ้าลูกอัณฑะเกิดการอักเสบ และถูกทำลายไปทั้ง 2 ลูก จะทำให้พ่อโคตัวนั้นผสมไม่ติดเป็นหมัน แต่ในรายที่ลูกอัณฑะถูกทำลายไปเพียงลูกเดียว อีกลูกหนึ่งยังทำหน้าที่ได้ตามปกติ พ่อโคตัวนี้จะยังผสมติด แต่จะเป็นตัวแพร่เชื้อต่อไป ถ้ายังใช้เป็นพ่อพันธุ์อยู่โดยการผสมตามธรรมชาติ และโดยการผสมเทียม



            เมื่อโคป่วยหรือผสมไม่ค่อยติด และสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ควรติดต่อนายสัตวแพทย์ให้มาทำการตรวจรักษา ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มียา
รักษาโรคนี้ที่ได้ผล

การควบคุมโรคแท้งติดต่อนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการคือ

            1. การสุขาภิบาล

            2. การฉีดวัคซีนให้กับสัตว์

            3. การตรวจเลือด และกำจัดสัตว์ที่เป็นโรคออกไป



            หมาย ถึง การแยกสัตว์ป่วยออก, เมื่อมีการแท้งให้รีบเผา หรือฝังซากลูกโคตลอดจนรก และสิ่งขับถ่ายจากมดลูก, และให้ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณนั้นให้ทั่ว โคทุกตัว และสัตว์อื่นๆ ที่อยู่ในฟาร์ม ให้ทำการตรวจเลือดทันที แล้วกำจัดตัวที่เป็นโรคออก และให้ทำการตรวจซ้ำหลังจากนั้น 30 วัน  แม่โคท้องแก่ใกล้คลอดให้แยกออกกักขังไว้ต่างหากจนกระทั่งคลอด ทั้งนี้เพราะแม่โคบางตัวที่เป็นโรคนี้ใน
บางครั้งเมื่อตรวจเลือดจะให้ผลลบจนกว่าจะคลอดหรือแท้งลูก



            ซึ่ง มีวัคซีนอยู่หลายแบบ จะเริ่มฉีดให้ได้ตั้งแต่อายุ 1-8 เดือน ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของสัตวแพทย์ว่าจะใช้วัคซีนแบบไหน แต่โดยทั่วไป นิยมใช้วัคซีนเสตรน S19 แก่โคตัวเมียที่อยู่ในช่วงอายุ 3-9 เดือน ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันโรคนานถึง 5-8 ปี
 


            คน สามารถติดโรคนี้ได้ โดยการไปสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค หรืออวัยวะสัตว์ที่เป็นโรค เช่น ลูกโคที่แท้งออกมา, รก หรือติดโรคโดยการกินน้ำนมจากสัตว์ที่เป็นโรคโดยไม่ได้ทำการพาสเจอไรซ์เสีย ก่อน

            คนที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น นายสัตวแพทย์, กสิกรที่เลี้ยง, คนทำงานโรงฆ่าสัตว์, คนทำผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มักจะพบเป็นโรคนี้เสมอ

หมายเหตุ*     โรงพยาบาลสัตว์หนองโพ สามารถให้บริการตรวจโรคแท้งติดต่อในโคได้


เราจะเดินหน้าพัฒนาต่อไป

อุทิศฟาร์ม
Autitfram